บทบาทสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

หน้าแรกบทบาทสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคามให้ความสำคัญและมุ่งหวังที่จะพัฒนานิสิตโดยวิธีการของสหกิจศึกษาให้เกิด ผลทางรูปธรรม ในทางปฏิบัติสหกิจศึกษามีรูปแบบและขั้นตอนที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจาก สถานประกอบการ โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และพนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) ซึ่งจะเป็นผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายกำกับดูแลและประเมินนิสิตระหว่างปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของสถานประกอบการ มีดังนี้

1. ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำหน้าที่ประสานงาน การรับนิสิตปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ เป็นผู้ให้คำแนะนำและอธิบายแนวความคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษาแก่ผู้บริหารของสถาน ประกอบ บุคลากรพนักงานที่ปรึกษาของนิสิต และทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นิสิตให้หัวข้อต่อไปนี้ ด้านระเบียบวินัย ฝ่ายบริหารงานบุคคลจะกำหนดให้นิสิตปฏิบัติตนตามระเบียบการบริหารงาน บุคคลของสถานประกอบการนั้นๆ เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เช่น กำหนดเวลาเข้าทำงาน การลางาน การแต่งกาย ฯลฯ
การปฐมนิเทศ การเข้าปฏิบัติงานในวันแรกและสัปดาห์แรกจะเป็นช่วงเวลาที่นิสิตมีความวิตก กังวลสถานประกอบการได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่นิสิตในเรื่องที่พักอาศัยปลอดภัยการเดินทางมาทำงาน การเข้าออก ระเบียบวินัย ฯลฯ

2. พนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) หมายถึงบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่สถานประกอบการ มอบหมายให้ทำหน้าที่ ดูแลรับผิดชอบปฏิบัติงานของนิสิต อาจจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าในการปฏิบัติ งานตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ จึงเปรียบเสมือนอาจารย์ของนิสิตในสถานประกอบการ เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดที่จะทำให้การปฏิบัติงาน และการปรับตัวของนิสิต ดังนั้น พนักงานที่ปรึกษาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดที่จะทำให้การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนิสิตประสบความสำเร็จ กำหนดลักษณะงาน (Job Description) และแผนงานการปฏิบัติงาน (Co-op Work Plan) ในสัปดาห์แรกของการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยจึงใคร่ขอความกรุณาพนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) โปรดกำหนดตำแหน่งงานของนิสิตและขอบข่ายหน้าที่ที่นิสิตจะต้องปฏิบัติและแจ้งให้นิสิตได้ทราบ